โรงงานอุตสาหกรรม

1018 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรงงานอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรม


อุตสาหกรรม คือกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มากมาย และ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ในปัจจุบันอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างยิ่ง ด้วยว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน หรือเรียกรวมว่าปัจจัยสี่ โดยสิ่งที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ให้ดี มีคุณภาพและไม่ก่ออันตราย หรือก่ออันตรายให้กับร่างกายและทรัพย์สินน้อยที่สุดคือการผลิตจากอุตสาหกรรม

 
ประเภทของอุตสาหกรรม


    1.อุตสาหกรรมครัวเรือน คืออุตสาหกรรมการผลิตง่ายๆ เล็กๆ มักทำกันในครอบครัวหรือหมู่บ้าน ไม่ใช้แรงงาน ทุนและปัจจัยมาก แต่มักจะได้กำไรต่ำ อุตสาหกรรมจำพวกนี้มีตัวอย่างเช่น หัตถกรรมจักสาน เซรามิก ถ้วยโถโอชามต่างๆ รวมไปถึงสินค้าประเภทอาหารบรรจุถุงหรือหีบห่อที่มียี่ห้อบางชนิด เป็นต้นด้วย และสินค้าโอทอป (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) บางชนิดเองก็ถือเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน
    2.อุตสาหกรรมโรงงาน คืออุตสาหกรรมที่ผลิตในโรงงาน สินค้ามักมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก พบมากในเขตเมืองหรือเขตที่มีความเจริญต่างๆ สินค้าพวกนี้มักเป็นสิ่งอุปโภคบริโภคและสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ เช่นกระดาษทิชชู บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง เครื่องนุ่งห่ม สุรา บุหรี่ เป็นต้น และสินค้าบางประเภทมีการโฆษณาส่งเสริมการขาย


การกลยุทธในงานอุตสาหกรรม


     การปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพและลดต้นทุน เพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการ ประกอบกับการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการให้มีค่าสูงขึ้น  ต้นทุนขององค์กร เมื่อพิจารณาถึง การเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ( Small and Medium Enterprises ) หรือที่เรารู้จักคือ SMEs ในปัจจุบันเรามีการใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการทำงานร่วมกับ ปัจจัยการผลิตในกระบวนการผลิตของธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ วัตถุดิบ เทคโนโลยี บุคลากร ฯลฯ เป็นเครื่องมือสำคัญในการ ส่งเสริม สนับสนุน การเพิ่มผลผลิตในองค์กร
     โรงงานอุตสาหกรรม ที่ตระหนักถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของกโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย  ข้อมูลข่าวสารที่สามารถรับและส่ง  ได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ ต่างเห็นถึงความสำคัญในการปรับปรุง พัฒนาองค์กรให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้น การเพิ่มผลผลิต ถือว่าเป็นกิจกรรมพัฒนาภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจ ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่อง จึงจะเกิดผลได้ทั้งในระยะสั้น - ระยะยาว โดยมุ่งยึดหลักการเพิ่มผลผลิต ดังนี้ คือ คุณภาพเต็ม 100  , ต้นทุนลดลงคุณภาพเพิ่มขึ้น ,  ส่งมอบทันเวลา และถูกสถานที่ ,  ปลอดภัยไว้ก่อน

ธุรกิจอุตสาหกรรม 4.0


ปัจจุบันในยุคธุรกิจ 4.0 ธุรกิจอุตสาหกรรม หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก ๆ ถือเป็นหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ ยิ่งปัจจุบัน เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มจำนวนในการผลิตต่อครั้งได้มากขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่ธุรกิจนี้จะได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการหลาย ๆ คน  

ธุรกิจอุตสาหกรรม คืออะไร


ในส่วนของ ธุรกิจอุตสาหกรรม คือ ประเภทหนึ่งขององค์กรธุรกิจ โดยเป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการหลักในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย มีกระบวนการการจัดซื้อวัตถุดิบแล้วนำเข้าสู่การผลิต ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของธุรกิจอุตสาหกรรมมาจากค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนรายได้ของธุรกิจอุตสาหกรรมก็คือรายได้จากการขาย

ลักษณะของธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร


ข้างต้น จะทราบคร่าว ๆ ว่าธุรกิจอุตสาหกรรม มีกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ การผลิตสินค้าออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งมีความหลากหลาย โดยธุรกิจอุตสาหกรรมมีลักษณะเด่น จำแนกได้จาก ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ สินค้าคงเหลือส่วนใหญ่ของกิจการรูปแบบอุตสาหกรรม ตลอดจน รายได้หลักของกิจการ ดังนี้

ต้นทุนธุรกิจอุตสาหกรรม 


1. ค่าใช้จ่ายจากการจัดหาวัตถุดิบทางตรง และวัตถุดิบทางอ้อม หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อวัตถุดิบ ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมนำมาประกอบหรือเปลี่ยนแปลงในระหว่างกระบวนการผลิต โดยผลสำเร็จก็คือ สินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำออกจำหน่าย โดยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบ ก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น ละธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า หรือละธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น 

2. ค่าจ้างแรงงาน คือ ค่าจ้าง ค่าแรงงานที่กิจการอุตสาหกรรมจ่ายให้แก่พนักงานที่ทำหน้าที่ในกระบวนการการผลิต ต้นทุนแรงงานถือเป็นต้นทุนส่วนที่สำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต หรือ ค่าโสหุ้ยการผลิต ได้แก่ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากค่าวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน โดยหมายถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าเช่าเครื่องจักร หรือค่าวัสดุต่าง ๆ 

สินค้าคงเหลือ 
1. วัตถุดิบ (Raw material) คือ วัตถุดิบที่ยังไม่ถูกแปรสภาพ ใช้ในกระบวนการการผลิตสินค้าสำเร็จรูป 

2. งานระหว่างทำ หรือ Work in process คือ วัตถุดิบที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิต โดยที่สินค้าคงเหลือในงานระหว่างทำ จะเป็นวัตถุดิบที่ยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบถ้วน 

3. สินค้าสำเร็จรูป คือ วัตถุดิบที่ได้ผ่านกระบวนการการผลิตครบถ้วนแล้ว อยู่ในสภาพที่พร้อมวางขายได้ เรียกอีกอย่างว่า Finished Goods 

รายได้ธุรกิจอุตสาหกรรม  
รายได้หลักของธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการขายปลีกหรือการขายส่ง สินค้าสำเร็จรูปหรือการผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วน ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง แปรสภาพ ผ่านขั้นตอนการผลิตครบถ้วนตามกระบวนการแล้วนั่นเอง  

อ่านเพิ่มเติม : ธุรกิจค้าปลีก มีลักษณะอย่างไร ข้อดี-ข้อเสียสำหรับธุรกิจสมัยใหม่มีอะไรบ้าง ?

ธุรกิจอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง
ธุรกิจอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1. ธุรกิจอุตสาหกรรมในครัวเรือน 
คือ ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้แรงงานหลัก ๆ จากสมาชิกในครอบครัว ใช้เงินลงทุนไม่สูง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมการทอผ้า ธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ธุรกิจอุตสาหกรรมทำ ธุรกิจอุตสาหกรรมทำเครื่องจักสาน

2. ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน 
คือ อุตสาหกรรมที่ผู้ผลิตมีโรงงาน มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เน้นการผลิตจำนวนมาก ๆ จ้างแรงงานจากบุคคลภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน เช่น โรงทอผ้า อุตสาหกรรมรถยนต์

ธุรกิจอุตสาหกรรมใดบ้าง ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาถึงตรงนี้แล้ว มาดูความน่าสนใจของธุรกิจอุตสาหกรรมอีกอย่างที่ผู้ประกอบการหลายต่อหลายคนสนใจ นั่นก็คือ ธุรกิจอุตสาหกรรมอะไรบ้าง ที่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยมีเงื่อนไข ต้องเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายและมีรายได้จากธุรกิจที่จดทะเบียนกับทางสวทช. ในอัตราที่มากกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน รายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท หากเข้าเงื่อนไขที่กำหนดจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเป็นจำนวน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน

1. ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

2. ธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด

3. ธุรกิจอุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ

3. ธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข

4. ธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

5. ธุรกิจอุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า

6. ธุรกิจอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ

7. ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้